วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

เมื่อนักวิจัย ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และค้นหาทางทำนายโรคในผู้ป่วยแทนหมอ

นักวิจัยประสบความสำเร็จในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำนายความเสี่ยงโรคหัวใจ ได้ดีขึ้นกว่าแนวทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
สรุปข่าว
1. โรคหัวใจเป็นโรคที่ถ้ารอให้เป็นแล้วรักษาจะยุ่งยากลำบาก ในทางการแพทย์จึงมีความพยายาม "ทำนาย" การเกิดโรค ว่าใครบ้างจะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
2. มนุษย์หมอ ใช้เวลา 50-60 ปี ในการวิจัย เอาคนมาติดตามดูหลายสิบปี เพื่อหาว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงจะได้แนะนำคนไข้ได้
3. ในปัจจุบัน ตัวแปรที่หมอใช้กัน อยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายเข้าใจไม่ยาก เรียกว่า 10 year risk score ซึ่งเมื่อใส่ค่าเข้าไปแล้วจะคำนวณได้ว่าผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจใน 10 ปีข้างหน้ากี่% ถ้าเสี่ยงสูงจะได้ให้กินยาดักไว้ก่อนเลย
4. ซึ่งการจะทำค่าเหล่านี้ขึ้น มันมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น
- คนที่คิดตัวแปรและแทนค่า ต้องอ่านงานวิจัยมามากพอ และด้วยความเป็นมนุษย์ เวลาในชีวิตมันจำกัด
- ตัวแปรบางอย่าง เราไม่รู้ว่ามันมี จนกว่าจะเห็นว่ามีคนป่วยมากๆ จึงจะไปวิจัยค้นหา
- หมอมีเวลาและสมองที่จำกัด ไม่สามารถเปิดประวัติคนไข้ทุกคนได้ทั้งหมดทุกหน้าในการรักษาแต่ละครั้ง และไม่สามารถจดจำประวัติคนไข้ได้ทั้งหมดทีละหลายแสนคน
ดังนั้นไม่มีทางที่คนจะหาตัวแปรความเสี่ยงได้สมบูรณ์
5. เลยมีความคิดที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แทน ... เพราะคอมพิวเตอร์สามารถคิดและเชื่อมโยงข้อมูลรวมถึงจดจำอะไรทั้งหลายแหล่ได้ดีกว่ามนุษย์ ... โดยเอาข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ดู จากนั้นให้เชื่อมโยงประมวลผลเอง เพื่อสร้างตัวแปรคำนวณความเสี่ยงโรคหัวใจขึ้นมา
6. พบว่าได้ผลที่น่าพอใจ ถ้าให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเอง มีการหยิบตัวแปรอื่นขึ้นมาใช้เพิ่มขึ้น และทำนายได้แม่นยำขึ้นอีกหน่อยนึง
ปล. จริงๆมีคนทำมาแล้ว แต่ไม่ครอบคลุม และขนาดตัวอย่างเล็ก
ปอ. มีอีกโครงการที่รออยู่ คือเรื่องการทำนายผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่า 1 ชนิด ซึ่งซับซ้อนพอสมควร(ในระดับสมองมนุษย์)

http://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0174944

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น